CHAIR STORY

Design

Written by: Tanet Chantaket

29 July 2020

Views: 603

เรื่องของเก้าอี้และการนั่งที่ดูเหมือนว่าเป็นของคู่กัน ตั้งแต่อดีตกาลที่เรายังไม่มีเก้าอี้ เรานั่งพักผ่อนหรือทำงานด้วยการนั่งยองและนั่งขัดสมาธิกับพื้น ซึ่งถือเป็นท่านั่งที่พบเห็นได้มากมายจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ในขณะที่การนั่งพื้นเหยียดขาตรงหรือไขว้ข้อเท้าจะพบเห็นได้ในกลุ่มชนพื้นเมืองอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาเหนือ หรือกลุ่มชนพื้นเมืองในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนี้ปัจจัยทางภูมิอากาศ และเครื่องแต่งกายยังมีผลต่อรูปแบบการนั่งของเราอีกด้วย ในพื้นที่ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น ต้องแต่งตัวมิดชิดหลายชั้น การนั่งยองหรือนั่งขัดสมาธิบนพื้นจึงเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้นในทวีปยุโรป เราจึงพบเห็นการนั่งบนก้อนหินหรือขอนไม้มากกว่า

(ซ้าย) เก้าอี้อียิปต์โบราณจากยุคอาณาจักรใหม่ (ขวา) ภาพแกะสลักหิน The Gardens of Ashurbanipal

นอกจากนั้น รูปแบบการนั่งยังเป็นผลสืบเนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิต สถานะทางสังคม และแนวคิดทางวัฒนธรรมอีกด้วย จากหลักฐานการค้นพบเก้าอี้จากยุคอียิปต์โบราณที่มีอายุเก่าแก่ถึง 5,000 ปี ที่นั่งมีความสูงเพียง 25 ซม. โดยเก้าอี้มีพัฒนาการด้านรูปแบบและเพิ่มความสูงมากขึ้น อย่างเก้าอี้ในยุคของกษัตริย์อัสซีเรีย (Assyrian kings) ที่เห็นได้ในภาพแกะสลักหิน แสดงภาพกษัตริย์ทรงนั่งเหยียดนอนบนเก้าอี้เอนยาว ขณะที่พระมเหสีนั่งอยู่บนเก้าอี้อาร์มแชร์ ซึ่งเก้าอี้ทั้งสองตัวมีความสูงมากกว่า 120 ซม. ในขณะที่เหล่าผู้รับใช้ยืนโบกพัดอยู่เบื้องล่าง

(ซ้าย) เดย์เบดในภาพวาด Madame Récamier, 1800 โดย Jacques-Louis David โซฟา CAMERICH รุ่น CRESCENT สนใจ คลิกที่นี่ 

การนั่งบนเก้าอี้หรือม้านั่งได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิต เป็นการแสดงสถานะ และเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมากขึ้น แต่ไม่ว่าเก้าอี้สมัยโบราณจะมาในรูปแบบไหน ก็ดูเหมือนจะเป็นเครื่องทรมานร่างกายมากกว่ามอบความสบาย นั่นก็เพราะสรีระของเราเหมาะกับการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือวิ่งที่เราทำได้ดี และในทางตรงข้าม การนอนราบนิ่งๆ เป็นท่าทางที่เรารู้สึกสบายตัว แต่สำหรับการนั่งที่เป็นท่าทางครึ่งๆ กลางๆ ระหว่างการขยับกับการหยุดนิ่ง และการยืนกับการนอน ถือเป็นปัญหาของเรามาตั้งแต่อดีตกาล

(ซ้าย) นิโกลาส์ อองดรี เดอ บัว เรอร์การ์ แพทย์ออร์โธปิดิกส์ชาวฝรั่งเศส  (กลาง) ภาพแสดงท่านั่งที่ดีและไม่ดีจากหนังสือวิชาการ L'orthopedie ของ อองดรี (ขวา) เก้าอี้ที่อองดรีออกแบบแก้ปัญหาการหย่อนของเบาะสาน

จนกระทั่งเมื่อราวศตวรรษที่ 18 นายแพทย์ออร์โธปิดิกส์ชาวฝรั่งเศส นิโกลาส์ อองดรี เดอ บัว เรอร์การ์ (Nicolas Andry de Bois-Regard) ผู้ถือได้ว่าเป็นบิดาแห่งการนั่งก็ว่าได้ ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสรีระมนุษย์ กับลักษณะการนั่ง และรูปแบบเก้าอี้ โดยได้สังเกตว่า เก้าอี้เบาะสานที่ใช้งานในสมัยนั้นจะหย่อนและยุบตัวลงจากการใช้งาน ยิ่งยุบตัวเท่าไร ขณะนั่งเราจะก้มตัวโค้งมาด้านหน้ามากเท่านั้น เพื่อสร้างสมดุลในการนั่ง อันเป็นที่มาของอาการปวดหลังและต้นคอ หมออองดรีจึงออกแบบเก้าอี้ที่มีตัวปรับดันเบาะสานจากด้านล่างให้เรียบตรงตลอดเวลา ถือเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาและออกแบบเก้าอี้ที่คำนึงถึงสุขภาพการนั่ง

(ซ้าย) ภาพบรรยากาศเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ The Godfather (ขวา) อาร์มแชร์ SCANDI LIVING รุ่น GIONA สนใจ คลิกที่นี่ 

ในปี 1949 หรือ 200 กว่าปีหลังจากที่คุณหมออองดรีชี้เป้าปัญหาการนั่ง เราถึงเริ่มจริงจังและใส่ใจกับการออกแบบเพื่อสรีระการนั่งที่ถูกต้องอีกครั้ง เมื่อ เอเลน เดวิส เคลลี (Ellen Davis Kelly) อาจารย์ด้านพลศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งโอคลาโฮมา ได้ศึกษาและจัดทำคู่มือเล่มสำคัญเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการยศาสตร์ของสรีระมนุษย์ ซึ่งสรุปสั้นๆ ได้ว่าร่างกายของเราอยู่ในสภาพที่พยายามสร้างสมดุลตลอดเวลาเนื่องจากสรีระโครงกระดูกที่ไม่มีความสมดุล เรามีเท้าสองเท้าหรือสองฐานขนาดเล็กๆ ที่รองรับร่างกายที่สูง แถมตั้งแต่ช่วงเอวขึ้นไป เรามีเพียงกระดูกสันหลังแกนเดียวที่คอยสร้างสมดุลรองรับร่างกายท่อนบน รวมถึงแขน และกะโหลกศีรษะ ซึ่งถ้านึกกันดีๆ คงเข้าใจได้ว่า การสร้างสมดุลบนเสาสองเสา หรือเสาเดียวนั้นเป็นเรื่องยากทางกายภาพ ซึ่งเป็นจุดด้อยของวิวัฒนาการการเดินของคนเราจากการก้มหลังเดินมาเป็นการเดินหลังตรง ในขณะที่ระบบโครงกระดูกไม่ได้มีวิวัฒนาการไปจากเดิมแต่อย่างใด


(ซ้าย) อาร์มแชร์จากฉากภาพยนตร์ The Grand Budapest Hotel (ขวา) อาร์มแชร์ SCANDI LIVING รุ่น ADELAIDE สนใจ คลิกที่นี่ 

นอกจากนี้ยังมีนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ พอล แบรนตัน (Paul Branton) ได้ศึกษาพฤติกรรมขณะนั่งของคนเรา พอลได้บอกไว้ว่า พวกเรานั้นไม่สามารถนั่งนิ่งๆ กันได้เลย เราอยู่ไม่สุข เรานั่งไขว่ห้าง กอดอก ขยับตัวถ่ายน้ำหนักไปๆ มาๆ แก้เมื่อย แถมยังมีปฏิสัมพันธ์แปลกๆ กับเก้าอี้ที่เรานั่งอีก เรานั่งโยกหน้าโยกหลัง ขยับตัวเข้าๆ ออกๆ บนเบาะนั่ง บางครั้งยังเอาขาไปเกี่ยวเล่นกับขาเก้าอี้ด้วยซ้ำ แถมบางครั้งก็นั่งเอียงๆ ยกศอกพาดพนักพิงเก้าอี้ บางทีถึงขึ้นนั่งยกขาพาดที่วางแขนกันเลย ลองนึกดูดีๆ ตอนนี้คุณกำลังทำท่าไหนอยู่ละ

(ซ้าย) อาร์มแชร์ทรงวิงค์แชร์ฉากจากภาพยนตร์ The Matrix Reloaded (ขวา) อาร์มแชร์ SCANDI LIVING รุ่น BALFOUR สนใจ คลิกที่นี่ 

ขณะที่เรานั่งน้ำหนักตัวจะลงไปสู่ปุ่มกระดูกก้นซึ่งเสมือนเป็นจุดหมุนให้เราสามารถย้ายน้ำหนักหรือขยับตัวขณะนั่งได้ทุกทิศทาง ถ้าเบาะเก้าอี้แข็งไป จะนั่งแล้วไม่สบาย แต่ถ้านิ่มเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อสะโพกไปกดกระดูกสะโพก นั่งแล้วไม่สบายเช่นกัน เก้าอี้ที่ต่ำไปทำให้น้ำหนักตัวยิ่งลงไปรวมที่ปุ่มกระดูกก้นแทนที่จะกระจายไปที่ต้นขา ขณะที่นั่งเก้าอี้ที่สูงเกินไป เราจะพยายามเอียงตัวมาด้านหน้าเพื่อถ่ายน้ำหนักให้ลงสู่เท้า ทำให้เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา พนักเก้าอี้ทำหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย แต่ถ้าพนักเก้าอี้ตั้งชันไป จะทำให้เรานั่งห่อตัว ถ้าพนักเก้าอี้เอนหลังมากไป จะทำให้หลังเราเอนหงายไม่เป็นธรรรมชาติ

โดยเฉลี่ยในวันหนึ่ง เรานั่งกันยาว 8-12 ชั่วโมง บางคนก็อาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับอาชีพและไลฟ์สไตล์ ดังนั้นเก้าอี้ที่ดี จึงต้องเหมาะกับสรีระและการใช้งานให้มากที่สุด ที่ Boonthavorn Lifestyle Furniture คุณสามารถลองนั่งเก้าอี้ได้ในโชว์รูมบรรยากาศโอ่อ่าทันสมัย สวยงาม เย็นสบาย ที่มีสินค้าตัวอย่างมากมายให้ลองนั่งจนกว่าจะค้นพบสิ่งที่ใช่ และหากลองแล้วยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อตัวไหนหรือไม่แน่ใจเรื่องที่ทางจัดวาง กลับไปดูพื้นที่หรือนั่งคิดนอนคิดว่าตัวไหนเหมาะ แล้วกดสั่งซื้อออนไลน์แบบสบายๆ ที่ Boonthavorn Online ไม่ต้องเดินทางให้วุ่นวาย แถมยังมีโปรโมชั่นเฉพาะช้อปออนไลน์อีกด้วย หากคุณกำลังมองหาเก้าอี้นั่งดีๆ สักตัว ลองเข้ามาชมเก้าอี้ อาร์มแชร์ โซฟา และเฟอร์นิเจอร์หลากสไตล์จาก Boonthavorn Lifestyle Furniture คลิกที่นี่