SHOWER EVOLUTION
Written by: Tanet Chantaket
26 August 2020
Views: 533
การทำความสะอาดร่างกายของเรานั้น ถือว่ามีพัฒนาการมาก้าวไกล ย้อนมองกลับไปในยุคดึกดำบรรพ์ที่เราอาจไม่ได้ชำระร่างกายเพื่อทำความสะอาด แต่อาจทำเพื่อความรู้สึกสดชื่นผ่อนคลายจากการได้สัมผัสน้ำเย็นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงแช่ในแม่น้ำ ลำธาร หรือบ่อบึง รวมถึงการยืนใต้น้ำตกให้สายน้ำกระทบไหลผ่านตัว ซึ่งวิธีหลังนี้ดูจะเป็นวิธีที่ถูกยอมรับว่าสร้างความสดชื่นทั้งร่างกายและจิตใจได้ดีที่สุด
หลังจากที่เราเริ่มชำระร่างกายเพื่อความสะอาด ซึ่งก็คงใช้วิธีเดิมๆ คือการอาบน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกระทั่งในสมัยอียิปต์ที่มีการใช้ภาชนะในชีวิตประจำวัน โดยชนชั้นสูงชาวอียิปต์จะให้คนรับใช้นำโถไปตักน้ำเพื่อใช้ในห้องอาบน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการทำห้องอาบน้ำในร่มอย่างเป็นสัดส่วนครั้งแรก ตั้งแต่นั้นมาการจัดการน้ำใช้จึงเป็นเรื่องใหญ่ จนกระทั่งชาวกรีกคิดค้นระบบส่งน้ำและระบบจัดการน้ำเสีย ระบบส่งน้ำที่เรียกว่า Aqueduct หรือสะพานส่งน้ำที่ลำเลียงน้ำเข้าสู่ตัวเมือง
ชาวกรีกยังได้สร้างห้องอาบน้ำรวมเป็นครั้งแรก และต่อมาชาวโรมันได้ต่อยอดสร้างประสบการณ์การอาบน้ำให้กลายเป็นความลักชัวรี จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมโรมันกันเลย ยุคโรมันมีโรงอาบน้ำสาธารณะทุกหัวเมืองหลัก โรงอาบน้ำโรมันที่ใหญ่ที่สุดคือ Baths of Diocletian ในกรุงโรม เปิดใช้งานปี 306 BC (หรือเมื่อ 2326 ปีก่อน ถ้านับถึงวันที่กำลังเขียนตรงนี้) รองรับผู้ใช้งานได้มากถึง 3,000 คน และมีพื้นที่มากถึง 120,000 ตร.ม. อาจเรียกว่าเป็นสปาขนาดยักษ์ ที่แม้จวบจนปัจจุบันก็ยังไม่มีสถานที่ใดสร้างขึ้นเพื่อการอาบน้ำได้ทัดเทียมเช่นนี้
โถงกลางของ Baths of Diocletian
หลังจากอาณาจักรโรมันล่มสลาย และศาสนาคริสต์ได้เข้ามารุ่งเรื่อง การอาบน้ำซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวโรมันจึงถูกมองว่าเป็นความฟุ้งเฟ้อ และถือว่าเป็นความผิดตามข้อห้ามทางศาสนาคริสต์ แต่หลังจากเกิดการระบาดของกาฬโรคในยุโรป หรือ Black Death ในช่วงปี ค.ศ. 1347 ถึง 1351 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนในยุโรปมากถึง 1/3 ทำให้การอาบน้ำทำความสะอาดกลับมาได้รับความนิยม และผู้คนก็เข้าใจถึงสุขอนามัยจากการอาบน้ำที่ทำให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ อีกด้วย
การอาบน้ำถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนหลายประเทศ เช่น การอาบน้ำแบบ “ฮัมมัม” ของชาวตรุกีที่ทั้งอบความร้อน นวด และขัดผิวระดับฮาร์ดคอร์ หรือการอบซาวน่าแบบสไตล์ฟินแลนด์ที่ถือว่าเป็นจากขับเหงื่อและสิ่งสกปรกจากรูขุมขม ซึ่งจบด้วยการแช่บ่อน้ำเย็นหรือออกไปกลิ้งตัวบนหิมะ ขยับมาใกล้ตัวหน่อยกับการแช่น้ำสไตล์ญี่ปุ่น แม้ว่าการแช่น้ำจะไม่ถือเป็นการทำความสะอาด แต่ชาวญี่ปุ่นถือว่าการแช่น้ำเป็นพิธีกรรมแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องชำระร่างกายให้สะอาดที่สุดก่อนลงไปแช่น้ำร่วมกับผู้อื่น สำหรับชาวไทยหรือเพื่อนบ้านในภูมิภาคคงไม่ต้องคิดอะไรมาก การอาบน้ำถือเป็นการช่วยชำระเหงื่อและช่วยให้สดชื่นจากสภาพอากาศร้อนชื้นนั่นเอง
(ซ้ายบน) การอาบโดยเทน้ำจากถัง (ซ้ายล่าง) ปั๊มผักบัวของวิลเลียม ฟีทแฮม (ขวา) ชุดฝักบัว Regency ที่ได้รับความนิยมในช่วงศตวรรตที่ 19 ซึ่งมีการทำลวดลายบนท่อเหล็กให้เหมือนท่อนไม้ไผ่ดูหรูหราแบบธรรมชาติ
การอาบน้ำได้ก้าวขั้นไปอีกสเตป เมื่อวิลเลียม ฟีทแฮม (William Feetham) ชาวอังกฤษคิดค้นระบบหัวฝักบัวแบบปั๊มมือในปี ค.ศ. 1767 ซึ่งช่วยประหยัดน้ำได้มาก และแน่นอนว่าคนรับใช้ก็ไม่จำเป็นต้องขนน้ำมาเติมหลายรอบ เมื่อเทียบกับการให้คนช่วยเทน้ำหรืออาบในอ่าง ระบบของวิลเลียม เปิดโลกแห่งการอาบน้ำด้วยฝักบัว และถูกนำไปเป็นต้นแบบแนวทางพัฒนาฝักบัวแบบปั๊มมือซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ห้องน้ำที่หรูหราในช่วงต้นศตวรรตที่ 19 โดยมีชื่อเรียกฝักบัวชนิดนี้ว่า ฝักบัวอิงลิชรีเจนซี (English Regency) ต่อมาในอังกฤษมีการวางระบบประปาเป็นครั้งแรกของโลก ฝักบัวแบบนี้ก็สามารถต่อเชื่อมท่อน้ำทำให้ยิ่งใช้งานได้สะดวกขึ้น
(ขวาบน) หัวฝักบัวก้านแข็ง COTTO รุ่น Z99S ขนาด 12 นิ้ว คลิกที่นี่ (ขวาล่าง) ฝักบัวก้านแข็งพร้อมลำโพงบูลทูธ Cotto Muse Series รุ่น Z002#WH ขนาด 20 ซม. ทำงานด้วยระบบ Water Power Generator ที่ไม่ต้องเดินระบบไฟฟ้าหรือชาร์จไฟ พร้อมไมโครโฟนในตัวตอบรับโทรศัพท์ คลิกที่นี่ สนใจฝักบัวแบบเรนชาวเวอร์หลากดีไซน์ คลิกที่นี่
การอาบน้ำด้วยฝักบัวถือเป็นวิธีอาบน้ำที่ได้รับความนิยมทั่วโลก เพราะสายน้ำที่ไหลตกกระทบร่างกายนอกจากจะมอบความรู้สึกสดชื่นแล้ว ยังมีผลวิจัยที่บ่งบอกว่าช่วยให้เลือดหมุนเวียน ลดความเมื่อยล้าได้เป็นอย่างดี ในช่วงปี 80’s เป็นต้นมา เราได้เห็นการพัฒนาฝักบัวรูปแบบใหม่ๆ ที่สามารถปรับรูปแบบสายน้ำได้หลากหลาย มีการออกแบบหัวฝักบัวฉีดลำตัวหรือ Body Jets มีการนำไฟสีต่างๆ เข้ามาร่วมสร้างบรรยากาศในการอาบน้ำ รวมถึงหัวฝักบัวแบบเรนชาวเวอร์อีกด้วย
(กลาง) ชุดฝักบัวราวเลื่อน พร้อมหัวฝักบัว 2 ฟังก์ชัน GROHE รุ่น NEW TEMPESTA คลิกที่นี่ (ขวา) ชุดฝักบัวราวเลื่อน พร้อมหัวฝักบัว 5 ฟังก์ชัน TOTO รุ่น TTSR106SMFK คลิกที่นี่
การอาบน้ำฝักบัวช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้ดีกว่าการตักอาบและการแช่อ่าง โดยเฉลี่ยแล้วเราใช้ปริมาณน้ำในการอาบน้ำฝักบัวต่อครั้งราว 20-30 ลิตร แต่ในยุคที่โลกมีประชากรมากขึ้น ปริมาณการใช้น้ำย่อมเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้มีน้ำเสียเพิ่มขึ้น ทำให้ทั่วโลกประสบวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำและมลพิษทางน้ำ การพัฒนาฝักบัวจึงเริ่มเข้าสู่การออกแบบที่ยั่งยืน
ในปี ค.ศ. 1992 สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายนโยบายพลังงาน Energy Policy Act หรือ EPAct 1992 กำหนดให้หัวฝักบัวใช้ปริมาณน้ำไม่เกิน 2.5 แกลลอน/นาที หรือ 9.4 ลิตร/นาที และล่าสุดในปี ค.ศ.2018, U.S. Environmental Protection Agency (EPA) ของสหรัฐอเมริกา ตั้งมาตรฐาน WaterSense ให้กับฝักบัวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องใช้ปริมาณน้ำไม่เกิน 7.6 ลิตร/นาที ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่หลายประเทศนำไปใช้ และสินค้าที่ได้มาตรฐานนี้จะมีตรา WaterSense บ่งบอกด้วย
(จากซ้ายไปขวา) ชุดฝักบัว AMERICAN STANDARD รุ่น GENIE FFASS506-000600BT0 สีเขียว คลิกที่นี่ ชุดฝักบัว AMERICAN STANDARD รุ่น A-6013-HS คลิกที่นี่ ชุดฝักบัว LABELLE รุ่น LB-SH0113-SET คลิกที่นี่ ชุดฝักบัว GROHE รุ่น NEW TEMPESTA 27849001 ปรับได้ 3 ฟังก์ชัน คลิกที่นี่ ชุดฝักบัว COTTO รุ่น Z80 ปรับได้ 2 ฟังก์ชัน คลิกที่นี่
ใครที่กำลังวางแผนทำห้องน้ำใหม่ หรือมองหาฝักบัวดีๆ มาเปลี่ยนใหม่ Design Village มีหลักการง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณเลือกฝักบัวที่ทนทาน ดูแลรักษาง่าย และมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมมอบความสดชื่นในการอาบน้ำอย่างสมบูรณ์แบบ มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
รูปทรง – กรณีของฝักบัวมือถือ ในปัจจุบันหัวฝักบัวส่วนใหญ่มีรูปแบบที่จับถนัดมือ แต่สิ่งที่ควรคำนึงคือขนาดของหัวฝักบัว หัวฝักบัวขนาดใหญ่ให้สายน้ำที่กว้าง สามารถยึดกับแป้นจับก็ใช้งานได้ดี แต่สำหรับบางคนแล้ว อาจรู้สึกเกะกะขณะถืออาบ อีกทั้งหัวฝักบัวขนาดใหญ่กักเก็บปริมาณน้ำไว้ภายใน ก่อนจะไหลออกมากกว่าหัวขนาดเล็ก สำหรับบางคนอาจรู้สึกเมื่อยล้าหรือถือได้ไม่ถนัดมือเพราะน้ำหนักที่มากนั่นเอง
ความทนทาน – ปัจจุบันหัวฝักบัวมือถือส่วนมากทำจากพลาสติก ABS คุณภาพดี ชุบนิกเกิล-โครเมียม มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อแรงกระแทก แต่ถ้ากระแทกแรงมากอาจแตกร้าวได้ บางรุ่นอาจผลิตจากสเตนเลสสตีลหรืออะลูมิเนียมชุบนิกเกิล-โครเมียม ที่ทนทานเช่นกัน โลหะอาจบุบได้หากมีการกระแทกรุนแรง แต่จะไม่แตกร้าวง่าย ซึ่งทั้งพลาสติก ABS และโลหะต่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ผู้ใช้งานอาจดูรูปแบบการใช้งานประกอบการพิจารณา
การดูแลรักษา – โดยมากแล้ว ฝักบัวจะมีผิวพลาสติกเรียบมัน หรือชุบนิกเกิล-โครเมียม ที่เรียบลื่นทำความสะอาดได้ง่าย แต่กรณีชุบนิกเกิล-โครเมียม หรือใช้วัสดุสีเงินผิวเงาวาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีดำ อาจเห็นคราบตะกรันได้ชัดเจนกว่าวัสดุสีขาว และอาจเห็นรอยขนแมวจากการขัดทำความสะอาดได้ง่าย บริเวณรูน้ำไหลเป็นอีกจุดที่ทำความสะอาดยาก ลองหาฝักบัวที่สามารถถอดบริเวณหัวเพื่อทำความสะอาดภายในได้ จะยิ่งช่วยยืดอายุการใช้งาน
(จากซ้ายไปขวา) ชุดฝักบัว COTTO รุ่น Z80 ปรับได้ 2 ฟังก์ชัน คลิกที่นี่ ชุดฝักบัว COTTO รุ่น Switch shower Z88 (HM) ปรับได้ 3 ฟังก์ชัน คลิกที่นี่ ชุดฝักบัว KOHLER รุ่น Rainduet K-76399T-CP คลิกที่นี่ ชุดฝักบัว TOTO รุ่น TBW02006T ปรับได้ 3 ฟังก์ชัน คลิกที่นี่
รูปแบบของสายน้ำ - มีฟังก์ชันปรับเปลี่ยนรูปแบบของสายน้ำให้เหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใช้ ควรลองดูความต้องการที่แท้จริงของคุณว่าจะใช้งานฟังก์ชันสายน้ำแบบไหน หัวฝักบัวในท้องตลาดมีตัวเลือกในการปรับสายน้ำได้ตั้งแต่ 2-7 รูปแบบ เชื่อว่าหลายๆ คนคงใช้แค่ 1-2 แบบเท่านั้น โดยรูปแบบของสายน้ำนั้นมาจากตำแหน่งและลักษณะของรูน้ำไหล กรณีที่ไม่มีการใช้งานสายน้ำครบทุกแบบนั้น รูน้ำไหลที่ไม่ถูกใช้งานอาจอุดตัน รวมถึงอาจส่งผลให้การปรับเปลี่ยนรูปแบบสายน้ำทำได้ยาก อันเป็นผลจากการสะสมของคราบตะกรันและสิ่งสกปรก
การประหยัดน้ำ - ในปัจจุบัน มาตรฐานการประหยัดน้ำ WaterSense ที่กำหนดขึ้นโดย U.S. Environmental Protection Agency (EPA) ในปี 2018 ระบุให้ฝักบัวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องใช้ปริมาณน้ำไม่เกิน 7.6 ลิตร/นาที การเลือกใช้ฝักบัวประหยัดนั้น ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำและค่าไฟ (กรณีอาบน้ำอุ่นเป็นประจำ) ให้คุณอีกด้วย สามารถสอบถามพนักงานขาย หรือตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ผู้ผลิต
ท้ายสุดนี้ ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ฝักบัวชนิดใด ควรเลือกซื้อจากลักษณะการใช้งานของคุณ สำหรับเรื่องรูปแบบฟังก์ชันสายน้ำนั้น ปัจจุบันในโชว์รูมของแบรนด์ผู้ผลิต หรือโชว์รูมตัวแทนจำหน่ายชั้นนำหลายแห่งมีมุมสาธิตรูปแบบสายน้ำให้คุณได้เห็นและสัมผัสจริง เพื่อเลือกให้เหมาะกับความต้องการของคุณ...ขอให้สนุกสดชื่นกับการอาบน้ำนะครับ