TOILET BOWLS : MANKIND'S BEST INVENTION
Written by: Tanet Chantaket
30 September 2020
Views: 290
ทุกวันนี้เราคุ้นชินกับความสะดวกสบายในการทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ จนอาจลืมนึกถึงความยากลำบากของผู้คนในอดีต จากการเดินเข้าป่าทำธุระแบบธรรมชาติ มาถึงวันนี้ที่เรามีโถสุขภัณฑ์อันสะดวกสบาย ถูกสุขอนามัย สวยงามหลากสไตล์ และสุดแสนไฮเทค แต่กว่าจะมาถึงวันสบายๆ แบบนี้ การพัฒนาโถสุขภัณฑ์ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างรวดเร็วเหมือนสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ อันมาจากปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องของจัดสรรน้ำและการระบายของเสียทิ้ง Design Village ขออาสาย้อนเวลาไปดูว่าในอดีตถึงปัจจุบัน เราทำธุระส่วนตัวกันอย่างไร โถสุขภัณฑ์เกิดขึ้นและพัฒนาไปอย่างไร ไปกันเลยครับ
ก่อนจะมีห้องน้ำและโถสุขภัณฑ์ เราใช้การเข้าทุ่งเมื่อต้องการทำธุระส่วนตัว ต่อมาเมื่อเราอยู่อาศัยเป็นชุมชน ก็จำเป็นต้องขับถ่ายเป็นที่เป็นทางเพื่อสุขอนามัย จึงเกิดห้องน้ำสาธารณะ มีโถสุขภัณฑ์ที่เป็นเพียงแผ่นไม้มีร่องสำหรับนั่งยอง ให้เราถ่ายสิ่งปฏิกูลลงสู่หลุมลึกที่ขุดไว้
(ซ้ายบนและซ้ายล่าง) ม้านั่งที่ชาวอียิปต์นั่งขับถ่าย (ขวาบนและขวาล่าง) ห้องน้ำสาธารณะแบบฉบับของชาวโรมัน
ในยุคอียิปต์ มีหลักฐานพบว่าในบ้านชาวอียิปต์ผู้มีโถสุขภัณฑ์ใช้ในบ้าน โถสุขภัณฑ์ทำจากม้านั่ง มีที่นั่งไม้เจาะรู แต่สำหรับบ้านของคนมีฐานะ จะใช้แท่นรองนั่งทำจากหินปูนให้เข้ารูปทรงกับสรีระ โดยด้านล่างม้านั่งจัดวางภาชนะบรรจุทรายเพื่อดูดซับของเสีย จากนั้น จึงเก็บออกไปทิ้งหลังใช้งาน ข้ามฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนสู่ดินแดนของชาวโรมันผู้ริเริ่มระบบน้ำประปาและระบบระบายน้ำเสีย ชาวโรมันผู้มีอันจะกินนั้น แน่นอนว่ามีห้องน้ำส่วนตัวในบ้าน ขณะที่ผู้คนทั่วไปใช้ห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งออกแบบโถสุขภัณฑ์เป็นม้านั่งยาว นั่งเรียงต่อกันได้หลายคน เจาะช่องด้านบนไว้สำหรับขับถ่ายของเสียลงสู่รางด้านล่างที่มีน้ำไหลผ่าน เพื่อนำสิ่งปฏิกูลออกไป ขณะที่ช่องด้านหน้านั้นมีไว้สำหรับสอดด้ามไม้ปลายติดฟองน้ำ เพื่อใช้สำหรับทำความสะอาดทวารหนักของชาวโรมัน เบื้องหน้าของแท่นโถสุขภัณฑ์เป็นรางที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา ซึ่งใช้สำหรับล้างฟองน้ำก่อนจะทำมาใช้อีกครั้ง (...แค่คิดก็สยองแล้ว)
Garderobe หรือห้องน้ำในปราสาทยุคกลาง ที่มีโถสุขภัณฑ์เปิดโล่งสู่ภายนอก
แถบสีน้ำเงิน แสดงช่องทางการทิ้งสิ่งปฎิกูลจากโถสุขภัณฑ์ ออกไปภายนอกตัวปราสาทในยุคกลาง
ต่อเนื่องมาในยุคกลางหรือทศวรรษที่ 11 อันเป็นช่วงรุ่งเรืองของการสร้างปราสาท แม้ว่าโถสุขภัณฑ์ยังคงรูปแบบเดิมๆ ซึ่งเป็นแท่นยกจากพื้น มีช่องสำหรับขับถ่าย และใช้ที่รองนั่ง ซึ่งทำจากไม้ แต่ห้องสุขาถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นและได้มีการออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของอาคาร แต่ของเสียถูกทิ้งดิ่งสู่เบื้องล่างและปล่อยให้สลายตัวตามธรรมชาติ ของเสียที่ยังไม่ย่อยสลายกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การป้องกันปราสาท หากข้าศึกจะปีนผ่านช่องสุขภัณฑ์ในห้องสุขานี้ คงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งกล้าหาญพอควร
สุขภัณฑ์แบบม้านั่งที่ออกแบบให้วางกระโถนไว้ภายใน หลังการใช้งานผู้คนมักนำของเสียมาเททิ้งถนนหน้าบ้าน
แม้ชาวโรมันจะคิดค้นห้องน้ำสาธารณะให้คนทั่วไปได้ใช้กันอย่างทั่วถึง แต่สำหรับชาวยุโรปที่อยู่อาศัยในชุมชนแล้ว กลับกลายเป็นการย้อนวิวัฒนาการ หันกลับมาขับถ่ายใส่ภาชนะหรือกระโถน บางครั้งใช้แท่นม้านั่งใส่กระโถนไว้ภายในเสมือนโถสุขภัณฑ์ที่ไม่มีรูระบาย แถมยังใช้วิธีง่ายๆ ในการกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนด้วยการเททิ้งนอกหน้าต่างกันง่ายๆ พฤติกรรมนี้เป็นที่ว่าของคำว่า “Loo” ที่ชาวอังกฤษใช้เรียกห้องน้ำ โดยมาจากภาษาฝรั่งเศส “Guardez l’eau” ที่แปลว่า “ระวังน้ำกันด้วยนะ” ซึ่งชาวบ้านจะตะโกนเตือนคนที่เดินไปเดินมาว่าให้ระวังน้ำด้วย แต่น้ำในที่นี้ก็คงมีทั้งของเสียชนิดเบาและหนักที่ถูกเทสาดลงไปยังถนน คำฝรั่งเศส “Guardez l’eau” ก็ถูกออกเสียงเพี้ยนๆ มาเป็น“gardy-loo” และก็ถูกย่อสั้นเหลือเพียง “Loo” นั่นเอง
(ซ้าย) โถสุขภัณฑ์ระบบฟลัชตัวแรกของเซอร์จอห์น ฮาริงตัน (ขวา) โถสุขภัณฑ์ที่คิดค้นโดย อเล็กซานเดอร์ คัมมิ่ง เป็นโถสุขภัณฑ์ตัวแรกที่ได้รับการอนุมัติการจดสิทธิบัตร
สำหรับโถสุขภัณฑ์ระบบฟลัชนั้นถือกำเนิดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1596 หรือ 400 กว่าปีก่อน โถสุขภัณฑ์ระบบฟลัชตัวแรกคิดค้นโดย ท่านเซอร์จอห์น ฮาริงตัน (Sir John Harington) มีระบบวาล์วเพื่อปล่อยน้ำจากถังไหลลงมาชะล้างโถสุขภัณฑ์แล้วมากักเก็บในถังด้านล่าง แต่ด้วยเวลานั้น ในอังกฤษยังไม่มีระบบประปาและระบบระบายน้ำเสีย โถสุขภัณฑ์ชนิดนี้จึงไม่สามารถใช้งานได้อย่างจริงจัง แม้จะยังไม่มีระบบจัดการน้ำมารองรับ แต่โถสุขภัณฑ์ก็ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนในปี ค.ศ. 1775 ได้มีการอนุมัติการจดสิทธิบัตรโถสุขภัณฑ์ที่คิดค้นโดย อเล็กซานเดอร์ คัมมิง (Alexander Cumming) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ซึ่งมีการพัฒนาท่อรูปตัว S ที่ช่วยป้องกันกลิ่นและก๊าซจากของเสียไหลย้อนกลับขึ้นจากโถสุขภัณฑ์ ไอเดียท่อที่เราเรียกติดปากว่า “ท่อคอห่าน” นี้ยังคงถูกใช้ในการออกแบบโถสุขภัณฑ์มาถึงปัจจุบันนี้
โถสุขภัณฑ์แยกชิ้นของ Thomas Crapper ที่มีดีไซน์สุดคลาสสิกและยังมีจำหน่ายมาถึงปัจจุบัน
ความนิยมโถสุขภัณฑ์ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1851 ซึ่งในยุโรปช่วงกลางทศวรรษที่ 18 นั้น มีระบบประปาและระบบระบายน้ำเข้าถึงบ้านเรือนทั่วไปแล้ว ส่งผลให้กระแสนิยมโถสุขภัณฑ์มีมากขึ้นและมีผู้ผลิตออกมาจำหน่ายหลากหลายยี่ห้อ และช่วงนั้น ยังเริ่มใช้เซรามิกในการผลิตโถสุขภัณฑ์ พร้อมทำลวดลายสีสันสวยงามไม่แพ้ผลิตภัณฑ์เครื่องกระเบื้องชนิดอื่นๆ อีกด้วย และในช่วงเวลานี้เองยังมีนักปะดิษฐ์อีกคนนามว่า โทมัส แครปเปอร์ (Thomas Crapper) ได้พัฒนาโถสุขภัณฑ์พร้อมถังพักน้ำระบบชักน้ำแบบกลไก ด้วยความไม่ซับซ้อนของระบบนี้จึงถูกใช้เป็นแม่แบบกลไกการชักน้ำมาถึงปัจจุบัน และโถสุขภัณฑ์รูปทรงสุดคลาสสิกของ โทมัส แครปเปอร์ ยังได้รับความนิยมต่อเนื่องยาวนาน และในปัจจุบันก็ยังสามารถหาซื้อได้
(ซ้าย) โถสุขภัณฑ์เซรามิกที่มีการทำลวดลายและสีสันอย่างหรูหา (ขวา) สุขภัณฑ์แยกชิ้นของจอร์จ เจนนิ่งส์ ที่ถือเป็นนวัตกรรมล้ำสมัยแห่งทศวรรตที่ 19
ในปี ค.ศ. 1884 จอร์จ เจนนิ่งส์ (George Jennings) ได้ศึกษาและพัฒนารูปทรงภายในของของโถสุขภัณฑ์ให้สามารถดันของเสียและชำระคราบสกปรกที่ติดในโถได้สะอาดหมดจด มีประสิทธิภาพสูงถึงขั้นฟลัชแอปเปิลลูกเล็กเท่ามะนาว 10 ผล หรือฟองน้ำทำความสะอาดขนาด 10 เซนติเมตร ลงไปได้แบบชิลๆ โดยใช้ปริมาณน้ำเพียง 8 ลิตร ซึ่งเทียบเท่าหรืออาจน้อยกว่าโถสุขภัณฑ์บางรุ่นในปัจจุบันเสียอีก
(ซ้าย) สุขภัณฑ์สองชิ้น COTTO รุ่น CLASSIC C12117 รูปทรงดีไซน์คลาสสิกและประหยัดน้ำเพียง 6 ลิตร สนใจ คลิกที่นี่ (ขวา) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว ROCA รุ่น 34N477000 - GAP ออกแบบโดย Antonio Bullo ระบบกดน้ำแบบดูอัลฟลัช ใช้น้ำเพียง 3 และ 4.5 ลิตร สนใจ คลิกที่นี่
(ซ้าย) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว AMERICAN STANDARD รุ่น ACACIA-E TF-2007 มาพร้อมเทคโนโลยี Anti -Bac ผสานอยู่ในเนื้อสุขภัณฑ์ ยับยั้ง ป้องกัน แบคทีเรียที่เป็นอันตราย สนใจ คลิกที่นี่ (กลาง) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว NAHM รุ่น นีช SVN28104104N01 ดีไซน์แบบ Ergo Comfort โถจะสูงกว่าโถสุขภัณฑ์ทั่วไป นั่งสบาย เคลือบผิวสุขภัณฑ์ด้วย Silver Nano Antibac ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย สนใจ คลิกที่นี่ (ขวา) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว MOGEN รุ่น MO50 ระบบการชำระล้างแบบ Siphon Jet ผสานกับพลังน้ำดูด (Flush) ใช้น้ำเพียง 6 ลิตร สนใจ คลิกที่นี่
โถสุขภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการมีระบบท่อน้ำทิ้งที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องในเมืองต่างๆ ทำให้ผู้คนสามารถสร้างห้องน้ำภายในบ้านได้ มอบความสะดวกสบายและปลอดภัยในการใช้งาน โถสุขภัณฑ์จึงกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในชีวิตประจำวัน แม้เวลาจะผ่านไปกว่าร้อยปี โถสุขภัณฑ์ในปัจจุบันอาจดูไม่แตกต่างจากโถรุ่นบรรพบุรุษสักเท่าไร อาจต่างแค่สไตล์ของรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นไปตามกระแสนิยม วัสดุและเทคโนโลยีการผลิต แต่สิ่งที่แตกต่างเห็นได้ชัดคือรูปแบบและระบบปล่อยน้ำภายในโถที่ช่วยชำระล้างได้หมดจดยิ่งขึ้น ลดเสียงรบกวนจากการกดชำระเพื่อความเป็นส่วนตัว และช่วยลดปริมาณน้ำในการกดชำระแต่ละครั้งอีกด้วย นอกจากนี้เรายังเห็นการคิดค้นระบบดูอัลฟลัช หรือระบบเลือกปริมาณน้ำในการกดชำระที่เราสามารถเลือกให้เหมาะสมตามการใช้งาน ใครสนใจอ่านเรื่องราวแบบเจาะลึกของโถแบบต่างๆ ที่ Design Village ได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ คลิกที่นี่
(ซ้าย) สุขภัณฑ์สองชิ้น KARAT รุ่น PINE K-99193X-S-WK ระบบชำระล้างแบบ Dual Flush, Siphonic Wash Down เลือกใช้น้ำทั้ง 3 ลิตร และ 4.5 ลิตร ตามการใช้งาน สนใจ คลิกที่นี่ (กลาง) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว TOTO รุ่น CW884UV1 – NEWSUPREME เทคโนโลยีเคลือบผิว CeFiONtect พื้นผิวมีความเรียบลื่นเงางาม ช่วยลดการเกาะติดของคราบสกปรก และการก่อตัวของเชื้อแบคทีเรีย สนใจ คลิกที่นี่ (ขวา) สุขภัณฑ์สองชิ้น KOHLER รุ่น KARESS K-75921X-S-0 ประหยัดน้ำด้วยระบบชำระล้างแบบ Class Five+ Dual Flush ใช้น้ำเพียง 3 ลิตร หรือ 4.2 ลิตร สนใจ คลิกที่นี่
(ซ้าย) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว TOTO รุ่น CW887UW4 แบบ Washlet ระบบชำระล้าง TORNADO ที่ใช้น้ำเพียง 4.8 ลิตร มาพร้อมระบบฉีดพ่นละอองน้ำ เคลือบบนพื้นผิวโถสุขภัณฑ์ก่อนการใช้งาน ลดการเกาะติดของคราบสกปรก สนใจ คลิกที่นี่ (ขวา) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว COTTO รุ่น C100317(CV1) พร้อมฝารองนั่ง CONVENIC แบบอเนกประสงค์ มาพร้อมระบบฟอกอากาศ ระบบเซ็นเซอร์เปิด-ปิดฝา ไฟแอลอีดี ระบบอุ่นเบาะนั่ง เป็นต้น สนใจ คลิกที่นี่
ปัจจุบันเราได้เห็นการพัฒนาเทคนิคการผลิตโถสุขภัณฑ์ให้มีผิวที่เรียบระดับนาโน ด้วยสารเคลือบผิวหน้าที่ถูกเผาในกระบวนการผลิตให้เป็นเนื้อเดียวกับผิวเซรามิก (บางผู้ผลิตยังใส่ไว้ในเนื้อวัสดุก่อนการเผา) ผิวที่เรียบและลื่นนี้ช่วยให้สิ่งสกปรกไม่เกาะติด ชำระได้สะอาดหมดจดด้วยปริมาณน้ำที่น้อยลง เมื่อผิวเรียบช่วยลดสิ่งสกปรกแล้ว ยังลดโอกาสการก่อตัวของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย บางผู้ผลิตยังใช้สารประเภทโลหะเงิน ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างมิติใหม่ให้กับสุขอนามัยในโถสุขภัณฑ์ได้อย่างดีเยี่ยม
(ซ้าย) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียวอัตโนมัติ COTTO รุ่น OPTIMUM C10257 พร้อมระบบชำระล้างอัตโนมัติ V-Silent 4.8 ลิตร ประสิทธิภาพสูง เสียงเงียบ และยังคงฟลัลได้แม้ไฟดับ ควบคุมการใช้งานได้ง่ายๆ ด้วย Remote Control แบบไร้สาย ก้านฉีดชำระสเตนเลสสตีล เคลือบสารป้องกันแบคทีเรีย พร้อมระบบ UV Sterilization เพื่อความสะอาดและสุขอนามัย สนใจ คลิกที่นี่ (ขวา) สุขภัณฑ์ชิ้นเดียวอัตโนมัติ KOHLER รุ่น VEIL K-5401X-S-0 ระบบชำระล้างแบบ Direct Water Supply ที่สามารถชำระล้างได้อย่างหมดจด โดยใช้น้ำเพียง 3/4.8 ลิตร ฝารองนั่งแบบ French Curve มีระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ พร้อมส่วนผสมพิเศษ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย มีระบบ E-Water ทำความสะอาดหลังการใช้งาน และระบบฆ่าเชื้อด้วยแสง UV สนใจ คลิกที่นี่
สำหรับช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาตรฐานโถสุขภัณฑ์ ไปสู่ระบบฟังก์ชันอัตโนมัติหรือที่เราเรียกติดปากว่า Washlet ระบบนี้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถูกคิดค้นขึ้นและใช้เป็นครั้งแรกโดยแบรนด์ TOTO ในปี 1980 หรือเมื่อ 40 ปี ก่อน โดยเป็นฝารองนั่งติดตั้งเพิ่มเติมกับโถสุขภัณฑ์ เพื่อฉีดน้ำอุ่นช่วยทำความสะอาดให้หมดจดมากขึ้นกว่าการใช้กระดาษชำระเพียงอย่างเดียว ซึ่งได้พัฒนาต่อเนื่องให้ระบบหัวฉีดทำความสะอาดตัวเองได้ทุกครั้งหลังการใช้งาน มีระบบฉีดที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระผู้ใช้และประเภทการใช้งาน นอกจากนี้เรายังเห็นการออกแบบโถสุขภัณฑ์ชิ้นเดียวแบบ Tankless Design ที่ออกแบบซ่อนถังน้ำไว้ในตัวโถอย่างแนบเนียน ทำให้มีรูปทรงเรียบ สวยงามทันสมัย ต่างกับโถสุขภัณฑ์ชนิดที่มีถังน้ำด้านหลัง ถือเป็นการปฎิวัติรูปทรงโถสุขภัณฑ์หลังจากร้อยกว่าปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันโถสุขภัณฑ์ระบบฟังก์ชันอัตโนมัติ มีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น และมีรุ่นที่ราคาย่อมเยาจับต้องได้ บางรุ่นมีราคาเท่ากับโถสุขภัณฑ์ชิ้นเดียว จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและได้รับความนิยมสำหรับคนที่กำลังมองหาความสะดวกสบายและสุขอนามัยที่ดียิ่งขึ้น สนใจ คลิกที่นี่
ท้ายสุดนี้ ใครกำลังจะทำห้องน้ำใหม่ หรือสนใจเปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ใหม่ให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น Design Village ขอแนะนำให้ลองแวะเข้าไปดูคอลเลกชันสุขภัณฑ์แบรนด์ดัง ทุกช่วงราคาที่เหมาะสมกับคุณ และยังสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ลองแวะชมได้ คลิกที่นี่